วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

รายชื่อสมาชิก


รายชื่อสมาชิก


นายณัชพล เนียมนัตน์ เลขที่ 5  ชั้น ม.6/2

นายณฐพงศ์ บุญเกิด  เลขที่ 18  ชั้น ม.6/2

นาย ธนพล ดีหลาย เลขที่ 23 ชั้น ม.6/2

นายพงศรุจ ตั้งใจพัฒนา   เลขที่ 30 ชั้น ม.6/2

นางสาวฐปนัท ช่างเหล็ก   เลขที่ 43  ชั้น ม.6/2



นางสาวกนิษฐา ประทีปเพชรทอง  เลขที่  44    ชั้น ม.6/2

นางสาวจิณห์นิชา วิสุทธิวัฒน์  เลขที่  45   ชั้น ม.6/2

นางสาวเหมือนตะวัน วิไลประเสริฐ   เลขที่  46   ชั้น ม.6/2

นางสาวประภาวดี เอื้อสถิตวงศ์   เลขที่  47   ชั้น ม.6/2

นางสาวกุลธิดา เลี่ยวบุ้นกิม  เลขที่  48    ชั้น ม.6/2

ข้าวเม่าคือ

      ข้าวเม่า ได้มาจากรวงข้าวสีเขียวไล่มาจนถึงสีเขียวตกน้ำตาล การบริโภคข้าวเม่าพบในทุกประเทศที่ปลูกข้าว ตั้งแต่ไทยลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า ภูฏาน อินเดีย ทิเบต ในภูฏานใช้เป็นอาหารว่างกินกับน้ำชา  ในไทยเป็นขนมที่นิยมกินมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในอดีตตอนหน้าน้ำจะมีแม่ค้านำขนมใส่เรือมาขาย และขนมกลุ่มนั้นมีข้าวเม่าทอดอยู่ด้วย มีกล่าวถึงข้าวเม่าในนิราศน้ำท่วมใหญ่ พ.ศ. 2460 ว่าพวกแม่ค้ามาขายข้าวเม่าทอด แตงเมหลอดน้ำยาแกงปลาไหล มีเพลงกล่อมเด็กกล่าวถึงข้าวเม่าว่า
                        โอ้ละเห่เอย           หัวล้านนอนเปล ลักข้าวเม่าเขากิน
เขาจับตัวได้เอาหัวไถลไถดิน           หัวล้านมักกินตกสะพานลอยไป
ข้าวเม่ามีทั้งข้าวเม่าข้าวเหนียว ข้าวเจ้าและข้าวเหนียวดำ โดยที่นิยมมากที่สุดคือข้าวเม่าข้าวเหนียว แบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ ข้าวฮ่างหรือข้าวเม่าอ่อนทำจากเมล็ดข้าวสีเขียวจัด ข้าวเม่าแบบเขียวอ่อน ทำจากข้าวห่ามที่เปลือกเป็นสีเขียวเข้ม ข้าวเม่าขาวนวล ทำจากข้าวเกือบแก่ เปลือกเขียวอมน้ำตาล ข้าวเม่าทำเป็นขนมได้หลายแบบ เช่น
ใส่เป็นส่วนผสมในกระยาสารท ข้าวเม่าบด ใช้ข้าวเม่าใหม่คั่วให้หอมแล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง หยดหัวกะทิลงบนข้าวเม่าที่กรองไว้ กะทิจะผสมข้าวเม่าเป็นก้อน แล้วนำมากลิ้งไปมาบนฝ่ามือให้เป็นก้อนเหมือนไข่จะละเม็ดข้าวเม่าราง คือข้าวเม่าที่นำมาคั่วจนพองแล้วกินกับน้ำกะทิ ข้าวเม่าหมี่ เป็นข้าวเม่ารางแบบแห้ง คือใส่กุ้งแห้ง เต้าหู้ทอด ถั่วลิสง หรือใส่น้ำตาลทรายถ้าเป็นแบบหวานข้าวเม่าทอด เป็นข้าวเม่ากวนกับน้ำตาลผสมกับแป้งพอกกล้วยไข่ทั้งลูกแล้วทอด บางท้องถิ่นเรียกกล้วยข้าวเม่า

วิธีการทำ ข้าวเม่า

1.เลือกข้าวที่ไม่แก่ไม่ออ่นเกินไปเลือกเมล็ดที่มีสีเขียวเหลืองอ่อนพอดี
2.นำข้าวที่เกี่ยวเสร็จมาตี เพื่อเอาข้าวแก่ 
3.นำข้าวที่เหลือมาปั่นเพื่อทำเป็นข้าวอ่อน 
4.นำข้าวอ่อนและข้าวแก่ไปล้างน้ำโดยแยกระหว่างข้าวอ่อนกับข้าวแก่เพื่อและเพื่อแยกข้าวที่ไม่สมบูรณ์ให้ลอยออกไปกับน้ำ 
5.นำข้าวไปแช่น้ำประมาณ 3-4 ชั่วโมง 
6.ผสมสีผสมอาหารสีเขียวและสีเหลืองโดยผสมน้ำ 10 ลิตรต่อสีเขียว 2 ชอง และสีเหลืองครึ่งชอง
7.นำข้าวเม่ามาใส่ในตระกร้าให้เสด็จน้ำก่อนนำมาคั่ว
8.นำกระทะขึ้งตั้งเตาไฟแล้วใส่น้ำสีที่ผสมไว้ประมาณ 5 ขันจากนั้นรอให้น้ำเดือดแล้วนำข้าวเม่ามาใส่ในกระทะ
9.จากนั้นก็คลไปเรื่อยๆ จนข้าวแห้ง แล้วค่อยเติมน้ำประมาณ 2 ขัน
คลไปเรื่อยๆจนข้าวสุก
*หมายเหตุ วิธีการดูว่าข้าวเป็นยังไง คือ พอข้าวแห้งแล้วลองตำดูถ้าไม่ติดสากแสดงว่าข้าวสุก แต่ไม่ต้องให้ข้าวแข็งจนเกินไป เพราะเวลาตำจะทำให้ข้าวหัก
10.หลังจากคั่วเสร็จก็นำข้าวมาผึ่งให้เย็น
11.จากนั้นนำข้าวเม่ามาตำโดยจะตำอยู่ 3 รอบ
- รอบที่1 ตำเพื่อปลอกเปลือกข้าวออก จากนั้นก็นำไปสีเพื่อแยกกากข้าวออกแล้วนำมากลับมาตำใหม่
- รอบที่2 ตำเพื่อให้กากข้าวที่เหลือติดอยู่กับเมล็ดข้าวออกหมด
- รอบที่3 ตำเพื่อให้เมล็ดข้าวให้แบน และอ่อนนุ่มดูน่ารับประทานแล้วนำกับไปสีอีกครั้งเพื่อให้กากข้าวที่เหลือออกให้หมด

12.เมื่อได้ข้าวเม่าที่ตำเสร็จแล้วพร้อมที่จะรับประทาน หรือนำไปแปรรูปทำได้หลายเมนู